ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลักการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)


หลักการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)


          หลักการเขียนรหัสเทียมไม่มีกฎหรือมาตรฐานที่ตายตัว ผู้เขียนจึงอยากให้ผู้อ่านได้นำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนรหัสเทียมที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการรวบรวมหลักการต่าง ๆ ที่สำคัญเอาไว้

 

1.                  กำหนดจุดเริ่มต้นด้วยคำว่า“Begin”และจุดสิ้นสุดด้วยคำว่า“End”
2.                  ถ้อยคำต่าง ๆ ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างง่าย
3.                  การเขียนรหัสเทียมแต่ละคำสั่งควรเขียนเป็นบรรทัด ๆ
4.                  ควรมีการย่อหน้า เพื่อสะดวกต่อการอ่านและการตรวจสอบ
5.                  การเขียนรหัสเทียมจะเขียนจากบนลงล่าง และมีทางเข้าหนึ่งทาง ทางออกหนึ่งทาง
6.                  การเขียนรหัสเทียมจะไม่เขียนหมายเลขกำกับในแต่ละขั้นตอน
7.                  ควรใช้การย่อหน้าให้เป็นประโยชน์ การแยกคำเฉพาะ ( Keywords ) ให้มีความชัดเจน นอกจากนี้ ควรจัดรูปแบบโครงสร้างควบคุมให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้อ่านง่าย
8.                  กลุ่มประโยคคำสั่งต่าง ๆ อาจถูกนำมาจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล และทำการกำหนดชื่อโมดูลขึ้นมา เพื่อให้ส่วนของโปรแกรมหลัก หรือโมดูลย่อยอื่น ๆ เรียกใช้งานได้

 

 

 

CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ ทุกๆเว็บไซต์ที่ได้นิยามหลักการเขียนรหัสเทียมเหล่านี้

ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             ประโยชน์ต่าง ๆ ของรหัสเทียมมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อในเรื่องของการเขียนรหัสเทียม   1.)                 นำมาใช้ทบทวนความถูกต้อง กับสิ่งที่ได้ออกแบบไป 2.)                 นำมาใช้เพื่อกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปเพิ่มเติมรายละเอียดและใช้เป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรมต่อไป 3.)                 นำมาใช้เป็นเอกสารประกอบโปรแกรม เพื่องานบำรุงรักษาโปรแกรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 4.)                 นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการออกแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคเชิงโครงสร้าง เช่น การออกแบบโมดูลโปรแกรม การออกแบบโปรแกรมแบบบนลงล่าง เป็นต้น       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ หนังสือแบบเรียนหลักการเขียนโปรแกรม ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)           รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             คำสั่งต่างๆที่ผู้เขียนได้นำมาบอกต่อในวันนี้เป็นเพียงคำสั่งพื้นฐานในการเขียนรหัสเทียมเท่านั้น   1.                   Read = รับค่า 2.                   Input = รับค่า 3.                   Dim = สร้างตัวแปร 4.                   Create = สร้างตัวแปร 5.                   Process = การประมวลผล 6.                   Begin = คำสั่งเริ่มต้นการทำงาน 7.                   End = คำสั่งจบการทำงาน 8.                   Display = แสดงผลทางหน้าจอ 9.                   Output = แสดงผลไม่ระบุทางออก 10.                 Pint = แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 11.                 Spceker = แสดงผลทางลำโพง       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ อ.เมธัส คำจาด : ผู้รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .