ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์



การจำแนกประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 3 ระบบ ดังนี้

1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งตามขนาดทางกายภาพ
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น LAN (Local Area Network)
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกันภายในองค์กรเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในอาคารเดียวกัน ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักมีการเชื่อมโยงบนระยะทางโดยรวมแล้วไม่เกินกว่า 10 กิโลเมตร
ระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่นิยมสูงสุดมีอยู่ 3 ชนิด คือ
- อีเทอร์เน็ต (Ethernet)
- ไอบีเอ็มโทเค็นริง (IBM Token Ring)
- เอฟดีดีไอ (FDDI : Fiber Data Distributed Interface)
ระบบเครือข่ายระดับเมือง MAN (Metropolitan Area Network)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคมพิวเตอร์ในระยะไกล การเชื่มโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่นิยมใช้กับหน่วยงานที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร
ระบบเครือข่ายระดับเมืองที่การเชื่อมต่อระยะทางไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงเนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายเมืองมีความหลากหลาย มีการเชื่อมต่อระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยแก้ว คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิ้ล
ระบบเครืข่ายระยะทางไกล WAN (Wide Area Network)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายนั้นจะต้องมีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้ากับระบบสื่อสารของบริษัทผู้ให้บริการด้านการสื่อสารเสียก่อน เช่น บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) หรือ TOT , บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ CAT เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน

2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ 
ระบบเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network)
- การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
- โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ และใช้งานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน
- การเชื่อมต่อแบบนี้มักพบในระบบที่มีขนาดเล็ก ๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง
- การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องขงระบบรักษาความปลดภัย
ระบบเครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network)
- ระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server
- เซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับเครื่องไคลเอนต์ (Client) หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ
- ข้อดี มีการรักษาความปลอดภัยภัยสูงกว่า Peer-to-Peer ทำให้ดูแลรักษาง่ายและสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับผู้ขอใช้บริการ

3.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล

อินทราเน็ต (Intranet)
- เป็นเครือข่ายข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ใช้ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น เช่น เป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ต (Intranet) เท่านั้น
- ถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเตอร์เน็ต องค์กรสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้และได้รับการปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ เพื่อทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต

อินเตอร์เน็ต (Internet)
- มีต้นกำเนิดมาจากโครงการที่ชื่อว่า ARPANET ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ จุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน
- เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้าไปได้ ไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลยเนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่และเปลี่ยนกันผ่านทางอินเตอร์เน็ต
- การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทำได้โดยการเชื่อมต่อเข้ากับองค์กรที่ให้บริการ ที่เรียกว่า ISP (Inernet Service Provider)

อีทราเน็ต (Extranet)
- เป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต
- ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างสององค์กร มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเพื่อแลกเปลี่ยนเฉพาะข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน



CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล
ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             ประโยชน์ต่าง ๆ ของรหัสเทียมมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อในเรื่องของการเขียนรหัสเทียม   1.)                 นำมาใช้ทบทวนความถูกต้อง กับสิ่งที่ได้ออกแบบไป 2.)                 นำมาใช้เพื่อกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปเพิ่มเติมรายละเอียดและใช้เป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรมต่อไป 3.)                 นำมาใช้เป็นเอกสารประกอบโปรแกรม เพื่องานบำรุงรักษาโปรแกรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 4.)                 นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการออกแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคเชิงโครงสร้าง เช่น การออกแบบโมดูลโปรแกรม การออกแบบโปรแกรมแบบบนลงล่าง เป็นต้น       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ หนังสือแบบเรียนหลักการเขียนโปรแกรม ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)           รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             คำสั่งต่างๆที่ผู้เขียนได้นำมาบอกต่อในวันนี้เป็นเพียงคำสั่งพื้นฐานในการเขียนรหัสเทียมเท่านั้น   1.                   Read = รับค่า 2.                   Input = รับค่า 3.                   Dim = สร้างตัวแปร 4.                   Create = สร้างตัวแปร 5.                   Process = การประมวลผล 6.                   Begin = คำสั่งเริ่มต้นการทำงาน 7.                   End = คำสั่งจบการทำงาน 8.                   Display = แสดงผลทางหน้าจอ 9.                   Output = แสดงผลไม่ระบุทางออก 10.                 Pint = แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 11.                 Spceker = แสดงผลทางลำโพง       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ อ.เมธัส คำจาด : ผู้รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .