ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความหมายของรหัสเทียม (Pseudocode)


ความหมายของรหัสเทียม (Pseudocode)

 

            ในวันนี้ผู้เขียนได้รวบรวมนิยามความหมายต่าง ๆ ของรหัสเทียม ไว้ด้วยกันทั้งหมด 4 นิยาม ซึ่งถ้าผู้อ่านได้อ่านแล้วก็จะเห็นได้ว่าความหมายโดยรวมของนิยามทั้งหมดจะมีความคล้ายคลึงกัน

 

1.)เป็นคำสั่งที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่เป็นคำสั่งที่นำมาใช้เขียนเลียนแบบชุดคำสั่งแบบย่อๆ เพื่อออกแบบโปรแกรม หรือร่างเค้าโครงโปรแกรมที่จะเขียนขึ้นมา ก่อนที่จะนำไปแปลงเขียนเป็นชุดคำสั่งด้วยภาคอมพิวเตอร์จริง ๆ ต่อไป

สำหรับคำสั่งย่อ ๆ ที่ใช้ในรหัสเทียม เช่น ในการเขียนโปรแกรมจริง ๆ โดยทั่วไปต้องมีการประกาศชนิดตัวแปรและกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรเสียก่อน แต่ในการเขียนรหัสเทียม สามารถเขียนแบบย่อ ๆ ได้ว่า INITIAL PROGRAM หรือ INITIAL VARIABLE โดยรหัสเทียมจะนำมาเขียนได้ ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนการเขียนโปรแกรม 5 ขั้นตอนก่อน เพื่อที่จะได้โปรแกรมในลักษณะที่ตรงตามต้องการและสมบูรณ์ ครบถ้วน และมีการแสดงออกมาในผังงาน ( Flowchart ) ที่แสดงถึงการทำงานของโปรแกรมและนำไปเขียนเป็นรหัสเทียมได้
2.)การจำลองการเขียนโปรแกรม โดยเขียนคำสั่งเป็นภาษาอะไรก็ได้ เช่น ไทย หรือ อังกฤษ ฯลฯ ที่ไม่ใช่ภาษาคอมพิวเตอร์ขั้นสูงอย่าง ภาษา C หรือ Java ซูโดโค้ดนี้จะไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ใดๆ โดยเฉพาะ ใช้อธิบายการทำงานของโปรแกรม เนื่องจากสื่อด้วยภาษาง่ายๆ อย่าง ไทย, อังกฤษ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย และตรงกัน โดยปกติแล้วมักใช้ภาษาอังกฤษ เนื่องจากสามารถแปลเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ได้ง่าย
            3.)การเขียนโปรแกรมโดยไม่ต้องคำนึงถึงไวยากรณ์แต่เป็นภาษาที่นักเขียนโปรแกรมเข้าใจกันได้ มีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษธรรมดาส่วนหนึ่ง เป็นภาษาทำโปรแกรม (programming language) อีกส่วนหนึ่งดู programming language ประกอบ
4.)การเขียนขั้นตอนวิธีโดยการใช้ภาษาธรรมชาติอาจมีความกำกวมหรือยืดยาวเกินไป ทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย ส่วนการใช้โปรแกรมภาษาอาจมีความเฉพาะจนเกินไป ผู้ที่ไม่เข้าใจโปรแกรมภาษาที่ใช้เขียนอาจไม่สามารถเข้าใจได้ รหัสเทียมเป็นส่วนผสมของการใช้ภาษาธรรมชาติและโปรแกรมภาษา เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้หลายกลุ่มที่มีความต้องการใช้ขั้นตอนวิธีต่างกันออกไป
            รหัสเทียมไม่มีกฎในการเขียนตายตัว โดยมากขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ใช้ แต่มีข้อตกลงบางอย่างร่วมกันเป็นสากล ส่วนประกอบที่สำคัญของรหัสเทียม ได้แก่ ชื่อ คำสั่งกำหนดงาน คำสั่งควบคุม กลุ่มของคำสั่ง และข้อบันทึกหรือคำอธิบาย



CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ ทุกๆเว็บไซต์ที่ได้นิยามความหมายเหล่านี้ของรหัสเทียม

ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)           รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             ประโยชน์ต่าง ๆ ของรหัสเทียมมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อในเรื่องของการเขียนรหัสเทียม   1.)                 นำมาใช้ทบทวนความถูกต้อง กับสิ่งที่ได้ออกแบบไป 2.)                 นำมาใช้เพื่อกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปเพิ่มเติมรายละเอียดและใช้เป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรมต่อไป 3.)                 นำมาใช้เป็นเอกสารประกอบโปรแกรม เพื่องานบำรุงรักษาโปรแกรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 4.)                 นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการออกแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคเชิงโครงสร้าง เช่น การออกแบบโมดูลโปรแกรม การออกแบบโปรแกรมแบบบนลงล่าง เป็นต้น       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ หนังสือแบบเรียนหลักการเขียนโปรแกรม ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             คำสั่งต่างๆที่ผู้เขียนได้นำมาบอกต่อในวันนี้เป็นเพียงคำสั่งพื้นฐานในการเขียนรหัสเทียมเท่านั้น   1.                   Read = รับค่า 2.                   Input = รับค่า 3.                   Dim = สร้างตัวแปร 4.                   Create = สร้างตัวแปร 5.                   Process = การประมวลผล 6.                   Begin = คำสั่งเริ่มต้นการทำงาน 7.                   End = คำสั่งจบการทำงาน 8.                   Display = แสดงผลทางหน้าจอ 9.                   Output = แสดงผลไม่ระบุทางออก 10.                 Pint = แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 11.                 Spceker = แสดงผลทางลำโพง       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ อ.เมธัส คำจาด : ผู้รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .