ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พื้นฐานระบบปฏิบัติการเครือข่าย ตอนที่ 3


ในที่สุดก็มาถึงตอนสุดท้ายของ พื้นฐานระบบปฏิบัติการเครือข่าย แล้วจ้า.. ในส่วนนี้จะเป็นในเรื่องของตัวอย่างระบบปฏิบัติการเครือข่ายต่าง ๆ มาอ่านกันต่อเลย :)

 

ตัวอย่างระบบปฏิบัติการเครือข่าย

            ตัวอย่างระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ มีดังนี้

 

1.Microsoft Windows Server

เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งมีอยู่หลายรุ่นด้วยกัน

สภาวะการทำงานแบบ 16 บิต วินโดวส์ 1.0 (พ.ศ.2528) และวินโดวส์ 2.0 (พ.ศ.2530) ยังเป็นสภาวะในการทำงาน (Operating Environments) หรือติดต่อผู้ใช้อยู่บนอีกชั้นหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (ในที่นี้คือดอส) ต่อมามีวินโดวส์ 3.0 (พ.ศ.2533) และวินโดวส์ 3.1 (พ.ศ.2535) รวมถึงวินโดวส์ 3.11 ที่เพิ่มความสามารถในการทำงานบนระบบเครือข่าย (Workgroup)

ระบบปฏิบัติการ 16/32 บิต หลังจากวินโดวส์ 3.11 เพิ่มความสามารถด้านระบบไฟล์แบบ 32 บิต แล้ววินโดวส์ก็มีความสามารถเพียงพอที่จะเป็นระบบปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาดอสอีกต่อไป วินโดวส์ 95 (พ.ศ.2538) เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวแรกโดยรวมเอาดอสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ด้วย วินโดวส์ 98 (จำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ.2541 ภายหลังได้ปรับปรุงและใช้ชื่อว่า วินโดวส์ 98 Second Edition หรือ วินโดวส์ 98SE ในปีพ.ศ.2542 วินโดวส์ตัวสุดท้ายที่เป็นระบบปฏิบัติการกึ่ง 16 และ 32 บิต คือ วินโดวส์ Me (พ.ศ.2543) ซึ่งอ้างอิงจากรากฐานตัวระบบมาจากวินโดวส์ 98 แต่ใช้หน้าตาส่วนติดต่อผู้ใช้ของวินโดวส์ 2000

ระบบปฏิบัติการ 32 บิต เดิมได้รับการออกแบบมาสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพโดยพัฒนามาใหม่หมดไม่ได้ใช้ดอสเป็นรากฐาน รุ่นแรกที่ออกมา คือ วินโดวส์เอ็นที 3.1 (ใช้เลขรุ่นเทียบกับวินโดวส์ 3.1 คำว่า NT ย่อมาจากคำว่า New Technology) ตามมาด้วย วินโดวส์เอ็นที 3.5 (พ.ศ.2537) , วินโดวส์เอ็นที 3.51 (ค.ศ.1995) และ วินโดวส์เอ็นที 4.0 (พ.ศ.2539) หลังจากวินโดวส์ 95 วางตลาด ไมโครซอฟท์พยายามนำเอาเทคโนโลยี 32 บิต มาในวินโดวส์สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน วินโดวส์ 2000 เป็นรุ่นถัดมาของวินโดวส์เอ็นทีสำหรับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่วินโดวส์รุ่นสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน (รหัสว่า Windows Neptune) ล้มเหลวและยกเลิกการพัฒนาไป และใช้วินโดวส์ Me ทำตลาดแทน ในภายหลัง Neptune ถูกรวมกับโครงการ Whistler และกลายมาเป็นวินโดวส์ XP (พ.ศ.2544) รุ่นถัดมาของวินโดวส์ 2000 คือ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 นอกจากนี้ยังมีวินโดวส์ EC สำหรับอุปกรณ์พกพา และ Vista ซึ่งเป็นรหัสของวินโดวส์รุ่นถัดไป

ระบบปฏิบัติการ 64 บิต สำหรับ CPU แบบ 64 บิต ของบริษัท AMD ในชื่อ X86-64[1] และ Intel ในชื่อ EM64T คือ วินโดวส์ XP x64 Edition และวินโดวส์ 2003 x64 Edition

 

2.Linux

                ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่อง PC และแจกจ่ายให้ใช้ฟรีสนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (Multiuser Multitasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิกที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใด ๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเตอร์เน็ตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (Compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเตอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่าง ๆ แต่ใช้ทั่ว ๆ ไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเตอร์เฟส ที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณมันจะเปลี่ยน PC ของคุณเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชั่นที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชั่นของซันในระดับกลาง ได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้วปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้พัมนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วยเช่น DEC Alpha , Motorola Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชั่นขึ้นมาบนแพลตฟอร์มหนึ่งแล้วคุณสามารถย้ายแอพพลิเคชั่นของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่องไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตเพราะที่อยู่อาศัยจริง ๆ ของแต่ละคนอาจอยู่คนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยาวทำให้เรามั่นใจได้ว่าลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน

 

3.Netware

                Netware วิวัฒนาการมาจากความคิดที่ง่ายมาก คือ การแชร์ไฟล์แทนการที่แชร์ดิสก์ ในปีค.ศ.1983 เมื่อเวอร์ชันแรกของ Netware ได้ถูกออกแบบมา การแข่งขันของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทั้งหมดจะมีพื้นฐานบนความคิดที่ว่า การเตรียมการแชร์ดิสก์โดยการเข้าถึงโดยตรงอีกทางหนึ่งของ Novell ที่จะทำให้เข้าใกล้ความสำเร็จ ในปี 1984 โดย IBM ให้ความช่วยเหลือในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกับผลิตภัณฑ์ของ IBM กับ Novell Netware ความนิยมของผู้ใช้และการเจริญเติบโตของ Novell Netware เริ่มในปี 1985 ในขณะเดียวกันก็ได้มีการปล่อยผลิตภัณฑ์ของ Netware 286 2.0a และโปรเซสเซอร์ Intel 80286 16-bit โดย CPU 80286 มีลักษณะเฉพาะในรูปแบบใหม่ก็คือมี Protection mode เป็น 16 bit การเข้าถึง RAM 16 MB ตามวิธีการเพื่อสนับสนุน multi-tasking ก่อนที่จะมาใช้ CPU 80286 เครื่อง Server มีการใช้ Intel 8086/8088 8/16-bit เป็นพื้นฐานมาก่อน ซึ่งโปรเซสเซอร์แบบนี้จะจำกัดพื้นที่ว่างของ Address คือใน 1 MB ให้ใช้งานได้ 640 KB หรือต่ำกว่า RAM ที่ใช้อยู่และมีความบกพร่องกว่าแบบ multi-tasking การรวมกันของ RAM 16 MB มีข้อจำกัด โปรเซสเซอร์ 80286 จะมีลักษณะเฉพาะในการใช้ประโยชน์ และขนาด 256 MB เป็นขนาดที่จำกัดของ Netware ที่มีการอนุญาตให้ใช้งานได้ cost-effective server-based ของพื้นที่เครือข่ายท้องถิ่นที่มีการสร้างขึ้นมาสำหรับช่วงเวลาแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง RAM 16 MB มีการจำกัดความสำคัญหลักจากที่สร้าง RAM ตามความต้องการสำหรับความจำแคชของดิสก์เพื่อดำเนินการแก้ไขสิ่งที่สำคัญต่าง ๆ การกลับมาครั้งนี้เป็นกุญแจสู่การดำเนินการของ Novell ในขณะเดียวกันได้มีการอนุญาตให้สร้างเครือข่ายที่ใหญ่กว่าอีกด้วย

 

4.Unix

                UNICS ย่อมาจาก Uniplexed Information and Computing System เนื่องจากว่าการออกเสียงสามารถสะกดได้หลายแบบ และพบปัญหาชื่อใกล้เคียงกับ Multics ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Unix การพัฒนายูนิกซ์ในช่วงนี้ยังไม่ได้รับความสนับสนุนด้านการเงินจาก Bell Labs เมื่อระบบพัฒนามากขึ้น Thompson และ Ritchie จึงสัญญาว่าจะเพิ่มความสามารถในการประมวลผลคำ (Word Processing) บนเครื่อง PDP-11/20 และเริ่มได้รับการตอบรับจาก Bell Labs ในปี ค.ศ.1970 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงได้รับการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการ โปรแกรมประมวลผลคำมีชื่อว่า ROFF และหนังสือ UNIX Programmer's Manual ตีพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ.1971 และใน ค.ศ.1973 ได้เขียนยูนิกซ์ขึ้นมาใหม่ด้วยภาษาซีใช้ได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน ดังนั้นยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน ลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้เป็นทั้งแบบ Command-line และ GUI ทำให้สะดวกต่อการนำยูนิกซ์ไปทำงานบนเครื่องชนิดอื่นมากขึ้น ทาง AT&T ได้เผยแพร่ยูนิกซ์ไปยังมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยสัญญาการใช้งานเปิดเผยซอร์สโค้ด ยกเว้นเคอร์เนลส่วนที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลียูนิกซ์เวอร์ชัน 4,5 และ 6 ออกมาในค.ศ.1975 ได้เพิ่มคุณสมบัติ pipe เข้ามา ยูนิกซ์เวอร์ชัน 7 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่พัฒนาแบบการวิจัยออกมาในค.ศ.1979 ยูนิกซ์เวอร์ชัน 8,9 และ 10 ออกมาในภายหลัง ในทศวรรษที่ 80 ในวงจำกัดเฉพาะมหาวิทยาลัยบางแห่งเท่านั้น และเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการ Plan9

 

 


 


CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล

ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)           รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             ประโยชน์ต่าง ๆ ของรหัสเทียมมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อในเรื่องของการเขียนรหัสเทียม   1.)                 นำมาใช้ทบทวนความถูกต้อง กับสิ่งที่ได้ออกแบบไป 2.)                 นำมาใช้เพื่อกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปเพิ่มเติมรายละเอียดและใช้เป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรมต่อไป 3.)                 นำมาใช้เป็นเอกสารประกอบโปรแกรม เพื่องานบำรุงรักษาโปรแกรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 4.)                 นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการออกแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคเชิงโครงสร้าง เช่น การออกแบบโมดูลโปรแกรม การออกแบบโปรแกรมแบบบนลงล่าง เป็นต้น       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ หนังสือแบบเรียนหลักการเขียนโปรแกรม ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             คำสั่งต่างๆที่ผู้เขียนได้นำมาบอกต่อในวันนี้เป็นเพียงคำสั่งพื้นฐานในการเขียนรหัสเทียมเท่านั้น   1.                   Read = รับค่า 2.                   Input = รับค่า 3.                   Dim = สร้างตัวแปร 4.                   Create = สร้างตัวแปร 5.                   Process = การประมวลผล 6.                   Begin = คำสั่งเริ่มต้นการทำงาน 7.                   End = คำสั่งจบการทำงาน 8.                   Display = แสดงผลทางหน้าจอ 9.                   Output = แสดงผลไม่ระบุทางออก 10.                 Pint = แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 11.                 Spceker = แสดงผลทางลำโพง       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ อ.เมธัส คำจาด : ผู้รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .