ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2012

พื้นฐานระบบปฏิบัติการเครือข่าย ตอนที่ 2

           ในตอนที่ 2 ของพื้นฐานระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี้จะพูดถึง เรื่อง การบริการต่าง ๆ ของระบบเครือข่าย บริการต่าง ๆ ของระบบเครือข่ายถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ใช้งานต้องพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมของระบบงาน ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 6 หัวข้อดังนี้ บริการต่าง ๆ ของระบบเครือข่าย   บริการจัดเก็บไฟล์ และการพิมพ์ (File and Services)  การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ ถือได้ว่าเป็นจุดประสงค์หลักของการสร้างระบบเครือข่าย ดังนั้นฟังก์ชันนี้จึงเป็นส่วนที่สำคัญ ของระบบปฏิบัติการเครือข่าย บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ของระบบจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการเครื่องพิมพ์ ความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับ พื้นที่เก็บไฟล์ที่แชร์ ระหว่างผู้ใช้รวมถึงระบบควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านี้ด้วย  บริการดูแลและจัดการระบบ (Management Services)  การจัดการเครือข่ายถือเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เช่น การจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้(User Accounts) คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเครือข่าย และการเฝ้าดูระบบเครือข่ายเพื่อทราบถึง

พื้นฐานระบบปฏิบัติการเครือข่าย ตอนที่1

ความหมายของระบบปฏิบัติการเครือข่าย ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่าง ๆ คล้ายระบบปฏิบัติการ เอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย             ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบ ไคลเอนต์เซิฟเวอร์ ( Client/Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย โปรดติดตามพื้นฐานระบบปฏิบัติการเครือข่าย ตอนที่ 2