ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2012

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)           รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)           เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใดเครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วย ในกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าหากเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้ ข้อดี สิทธิในการส่งข้อมูลของแต่ละโหนดภายในเครือข่ายมีความเท่าเทียมกัน ประหยัดสายเคเบิล การติดตั้งไม่ยุ่งยาก รวมถึงการเพิ่มหรือลดโหนดทำได้ง่าย ข้อเ

โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)

โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)           เป็นแบบการต่อเชื่อมสายต่อสื่อสารแบบจุดต่อจุด โดยสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลางแบบจุดต่อจุด การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี มีความคงทนมากกว่าแบบบัส โดยหากสายเคเบิลทางโหนดเสียหายจะไม่กระทบต่อโหนดอื่น ๆ การวิเคราะห์จุดเสียหายบนเครือข่ายทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีฮับเป็นศูนย์กลาง สามารถเพิ่มเติ่มอุปกรณ์ หรือถอดอุปกรณ์ออกได้ง่ายและไม่รบกวนส่วนอื่น ข้อเสีย สิ้นเปลืองสายเคเบิล เนื่องจากทุก ๆ โหนดต้องมีสายเคเบิลเชื่อมโยงกับฮับ ถ้า Hub/Switch ที่เชื่อมอยู่ตรงกลางมีปัญหา จะทำให้ระบบเครือข่ายทั้งหมดมีปัญหาไปด้วย ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการต่อแบบ Bus เนื่องจากจำเป็นต้องมี Hub หรือ Switch เชื่อมตรงกลาง CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)

โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)           เครือข่ายแบบบัส เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่งเพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย การเชื่อมต่อมีลักษณะเป็นแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียว เรียกว่า "แบ็กโบน" (Back Bone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ การจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน ข้อดี ง่ายต่อการนำอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ใช้สายเคเบิลน้อยกว่าการต่อแบบ Star ข้อเสีย หากสายแกนหลักเกิดขาด เครือข่ายทั้งระบบจะหยุดการทำงาน กรณีเครือข่ายหยุดการทำงาน ตรวจสอบจุดเสียค่อนข้างยาก CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครื่อข่าย

รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครื่อข่าย           เครือข่ายท้องถิ่นสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายให้อยู่ตามมาตรฐาน 4 รูปแบบด้วยกัน ที่เรียกว่าโทโปโลยี (Topology) ซึ่งประกอบด้วย โทโปโลยี แบบบัส แบบดาว แบบวงแหวน และแบบเมช CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสาร (ตอนที่ 3)

การเชื่อมโยงแบบสวิตซ์ซิ่ง (Switching)           จากรูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นแบบจุดซึ่งต้องต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วการสื่อสารข้อมูลไม่ได้ผ่านตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีแนวความคิดในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารหรือเครือข่ายสวิตซ์ซิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุดให้สามารถใช้สื่อสารได้มากที่สุด ลักษณะเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารสามารถแสดงได้ดังรูป CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสาร (ตอนที่ 2)

การเชื่อมโยงแบบหลายจุด (MultiPoint or MultiDrop)           เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้เส้นทางหรือลิ้งก์เพื่อการสื่อสารร่วมกัน กล่าวคือ อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ด้วยการใช้ลิงก์หรือสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว ดังนั้นวิธีการเชื่อมโยงชนิดนี้ทำให้ประหยัดสายส่งข้อมูลกว่าแบบแรกมาก โดยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีการเชื่อมโยงแบบหลายจุด ข้อดี ประหยัดสายส่งข้อมูล กาเพิ่มโหนด สามารถเพื่มได้ง่ายด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับสายส่งที่ใช้งานร่วมกันได้ทันที ข้อเสีย หากสายส่งข้อมูลขาด จะส่งผลกระทบต่อระบบเครือข่าย เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ดังนั้นต้องมีกลไกเพื่อควบคุมการส่งข้อมูล ไม่เหมาะสมกับการส่่งข้อมูลแบบต่อเนื่อง ที่มีข้อมูลคราวละมาก ๆ  CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสาร (ตอนที่ 1)

การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด (Point - to - Point)           เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ 2 อุปกรณ์ที่เชื่อมโยงถึงกันเท่านั้น โดยช่องทางการสื่อสารจะถูกจับจองสำหรับอุปกรณ์ 2 อุปกรณ์เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกัน อย่างไรก็ตามหากโหนดคู่ใดที่ไม่มีสายส่งถึงกันก็สามารถสื่อสารผ่านโหนดที่อยู่ติดกัน เพื่อทอดสอต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงโหนดปลายทาง ข้อดี สามารถใช้ความเร็วในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงเหมาะสมกับการส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ แบบต่อเนื่องกันไป เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันเพียงสองโหนด ดังนั้นจึงมีความปลอดภัยในข้อมูล ข้อเสีย หากเครือข่ายมีจำนวนโหนดมากขึ้น ก็จะต้งใช้สายสื่อสารมากขึ้นตามลำดับ ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

Wireless Acces Point

Wireless Acces Point เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นจุดกระจายสัญญาณของระบบเครือข่ายไร้สาย ใช้ทำหน้าที่แทน Hub  /  Switch ในปัจจุบัน ระบบเครือข่ายไร้สายนับวันได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ Wireless Acces Point CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

โมเดม (Modem)

โมเดม (Modem)           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ ให้สามารถส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์ เพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ได้ โมเดมจะมีทั้งชนิดเชื่อมต่อภายนอก (External Modem) และชนิดที่เป็นการ์ดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเดม (Modem) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

เกตเวย์ (Gateway)

เกตเวย์ (Gateway)           เกตเวย์เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็นคอมพิวเตอร์พีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น เกตเวย์ (Gateway) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

เร้าท์เตอร์ (Router)

เร้าท์เตอร์ (Router)           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกันคล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเร้าท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

บริดจ์ (Bridge)

บริดจ์ (Bridge)           เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Ethernet กับ Token Ring เป็นต้น บริดจ์ (Bridge)           บริดจ์มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียวเพื่อให้เครือข่ายย่อย ๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ได้ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

รีพีตเตอร์ (Repeater)

รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับขยายสัญญาณเมื่อสายเคเบิ้ลที่เชื่อมต่อเครือข่ายยาวมากขึ้น เพื่อขยายสัญญาณที่ถูกลดทอนลงเนื่องจากระยะทาง อุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฮับ , บริดจ์ , เร้าเตอร์ และเกตเวย์ ต่างก็มีความสามารถของรีพีตเตอร์ด้วยกันทั้งนั้น รีพีตเตอร์ (Repeater) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

สวิตช์ (Switch)

สวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาการต่อ ฮับ อีกทีหนึ่ง มีความสามารถมากกว่า ฮับ โดยการทำงานของสวิตช์จะส่งข้มูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่อง PC ปลายทางเท่านั้น ไม่ส่งกระจายไปยังทุกพอร์ตเหมือนกับฮับ ทำให้ในสวิตช์ไม่มีปัญหาการชนกันของข้อมูล สวิตช์ (Switch) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ฮับ (Hub)

ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบ LAN ที่ต่อแบบ Star ซึ่งฮับในปัจจุบันมีหลายขนาดให้เลือกด้วยกัน โดยพิจารณาตามจำนวนช่องเสียบ (Port) เช่น 5 Port , 16 Port , 24 Port , 32 Port และ 48 Port เป็นต้น มีความเร็วเริ่มต้นที่ 10 Mbps ฮับ (Hub) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)

สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) เป็นสัญญาณที่มีรูปแบบไม่ต่อเนื่อง มีค่าที่เป็นไปได้ในรูปแบบของแรงดันไฟฟ้าที่มีค่า 0 หรือ 1 เท่านั้น มีข้อดีคือ - เป็นสัญญาณที่ทนต่อการรบกวนได้ดีกว่าสัญญาณแอนะล็อก แต่ข้อเสียคือ - สามารถส่งบนระยะทางได้ไม่ไกลเมื่อเทียบกับสัญญาณแอนะล็อก สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal)

สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณที่เป็นรูปคลื่นขึ้นลงสลับกันไปแบบต่อเนื่อง สามารถส่งข้อมูลออกไปได้บนระยะทางที่ไกล แต่มีข้อเสียด้านสัญญาณรบกวนสูง ตัวอย่างสัญญาณแอนะล็อก เช่น สัญญาณที่ส่งไปบนโทรศัพท์ที่สนทนาผ่านระบบโทรศัพท์ตามบ้าน Analog Signal CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

พื้นฐานการสื่อสารในระบบเครือข่าย

พื้นฐานการสื่อสารในระบบเครือข่าย โดยปกติแล้วเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลจะเป็นการส่งข้อมูลที่อาจเป็นข้อมูลตัวอักษร เสียง รูปภาพ ที่จัดเก็บในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอลและนำมาเข้ารหัสให้อยู่ในระบบของสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแสง เพื่อส่งผ่านไปยังสื่อกลางส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ทั้งนี้สัญญาณที่ส่งผ่านสื่อกลางนั้นยังสามารถแบ่งได้เป็นทั้ง สัญญาณแอนะล็อก หรือ สัญญาณดิจิตอล ก็ได้ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ไอบีเอ็มโทเค็นริง (IBM Token Ring)

ไอบีเอ็มโทเค็นริง (IBM Token Ring) โปรโตคอล CSMA/CD ที่ใช้งานบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต เป็นกลไกการส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโอกาสเกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลสูงเมื่อการจราจรบนเครือข่ายหนาแน่น ในขณะเดียวกันโปรโตคอล Token Passing ที่ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการชนกันของกลุ่มข้มูลเลย กลไกการทำงานของ Token Passing ก็คือ ในช่วงเลาหนึ่งจะมีเพียงโหนดเดียวที่สามารถส่งข้อมูลในขณะนั้นได้ นั่นก็คือโหนดที่ครอบครองโทเค็น โดยโทเค็นจะไปพร้อมกับข้อมูลที่ส่งไปยังโหนดภายในวงแหวน หากโหนดใดได้รับข้อมูลพร้อมรหัสโทเค็นแล้วตรวจสอบพบว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ส่งมายังตน ก็จะส่งทอดไปยังโหนดถัดไปภายในวงแหวนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงโหนดปลายทางที่ต้องการ เมื่อครบรอบวงแล้วรหัสโทเค็นก็จะเข้าสู่สภาวะว่างอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการส่งทอดรหัสว่างไปตามวงแหวนผ่านโหนดต่าง ๆ เป้นวงรอบและพร้อมที่จะให้โหนดอื่น ๆ ครอบครองโทเค็นเพื่อการส่งข้อมูลในรอบต่อไป สำหรับสายเคเบิ้ลที่ใช้งานบนเครือข่ายไอบีเอ็มโทเค็นริง สามารถใช้สายแบบเอสทีพีหรือยูทีพีก็ได้ พร้อมหัวปลั๊กเชื่อมต่ชนิด IBM-Type1 CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ หนังสือแบบเรีย

อีทราเน็ต (Extranet)

อีทราเน็ต (Extranet) เครือข่ายอีเทอร์เน็ตจัดเป็นเครือข่ายท้องถิ่นชนิดแรกที่นำมาใช้ในแวดวงธุรกิจในราวปี ค.ศ.1979 และนับจากนั้นเป็นต้นมา จนมาถึงปัจจุบันอีเทอร์เน็ตก็เป็นเครือข่ายที่มีความนิยมสูงสุด รูปแบบการเชื่อมต่อของเครือข่ายอีเทอร์เน็ตตั้งอยู่บนพื้นฐานเครือข่ายแบบบัสตามมาตรฐาน IEEE 802.3 ด้วยการใช้โปรโตคอล CSMA/CD เป็นตัวจัดการเพื่อการเข้าถึงสื่อกลาง โดยมาตรฐาน 802.3 แบบดั้งเดิมได้กำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อไว้ 3 รูปแบบด้วยกันคือ 10Base5 , 10Base2 และ 10BaseT ที่ส่งข้อมูลบนความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ หนังสือแบบเรียนระบบเครือข่ายเบื้องต้น ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การจำแนกประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 3 ระบบ ดังนี้ 1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งตามขนาดทางกายภาพ ระบบเครือข่ายท้องถิ่น LAN (Local Area Network) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกันภายในองค์กรเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในอาคารเดียวกัน ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักมีการเชื่อมโยงบนระยะทางโดยรวมแล้วไม่เกินกว่า 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่นิยมสูงสุดมีอยู่ 3 ชนิด คือ - อีเทอร์เน็ต (Ethernet) - ไอบีเอ็มโทเค็นริง (IBM Token Ring) - เอฟดีดีไอ (FDDI : Fiber Data Distributed Interface) ระบบเครือข่ายระดับเมือง MAN (Metropolitan Area Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคมพิวเตอร์ในระยะไกล การเชื่มโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่นิยมใช้กับหน่วยงานที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร ระบบเครือข่ายระดับเมืองที่การเชื่อมต่อระยะทางไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่ส

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ         สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้ สามารถแชร์ไฟล์หรืเอกสารได้ เช่น บันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่าง ๆ รูปภาพ วีดีโอ สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชท (chat) การประชุมระยะทางไกล (videoconference) การแชร์ซอร์ฟแวร์ต่าง ๆ เช่น ไมโครซอร์ฟออฟฟิศ โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น สามารถบริหารจัดการ การทำงาน ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security) ใช้งานอินเตอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) ได้ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง ระบบหรือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             คำสั่งต่างๆที่ผู้เขียนได้นำมาบอกต่อในวันนี้เป็นเพียงคำสั่งพื้นฐานในการเขียนรหัสเทียมเท่านั้น   1.                   Read = รับค่า 2.                   Input = รับค่า 3.                   Dim = สร้างตัวแปร 4.                   Create = สร้างตัวแปร 5.                   Process = การประมวลผล 6.                   Begin = คำสั่งเริ่มต้นการทำงาน 7.                   End = คำสั่งจบการทำงาน 8.                   Display = แสดงผลทางหน้าจอ 9.                   Output = แสดงผลไม่ระบุทางออก 10.                 Pint = แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 11.                 Spceker = แสดงผลทางลำโพง       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ อ.เมธัส คำจาด : ผู้รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             ประโยชน์ต่าง ๆ ของรหัสเทียมมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อในเรื่องของการเขียนรหัสเทียม   1.)                 นำมาใช้ทบทวนความถูกต้อง กับสิ่งที่ได้ออกแบบไป 2.)                 นำมาใช้เพื่อกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปเพิ่มเติมรายละเอียดและใช้เป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรมต่อไป 3.)                 นำมาใช้เป็นเอกสารประกอบโปรแกรม เพื่องานบำรุงรักษาโปรแกรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 4.)                 นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการออกแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคเชิงโครงสร้าง เช่น การออกแบบโมดูลโปรแกรม การออกแบบโปรแกรมแบบบนลงล่าง เป็นต้น       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ หนังสือแบบเรียนหลักการเขียนโปรแกรม ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .

หลักการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

หลักการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)           หลักการเขียนรหัสเทียมไม่มีกฎหรือมาตรฐานที่ตายตัว ผู้เขียนจึงอยากให้ผู้อ่านได้นำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนรหัสเทียมที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการรวบรวมหลักการต่าง ๆ ที่สำคัญเอาไว้   1.                   กำหนดจุดเริ่มต้นด้วยคำว่า “Begin” และจุดสิ้นสุดด้วยคำว่า “End” 2.                   ถ้อยคำต่าง ๆ ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างง่าย 3.                   การเขียนรหัสเทียมแต่ละคำสั่งควรเขียนเป็นบรรทัด ๆ 4.                   ควรมีการย่อหน้า เพื่อสะดวกต่อการอ่านและการตรวจสอบ 5.                   การเขียนรหัสเทียมจะเขียนจากบนลงล่าง และมีทางเข้าหนึ่งทาง ทางออกหนึ่งทาง 6.                   การเขียนรหัสเทียมจะไม่เขียนหมายเลขกำกับในแต่ละขั้นตอน 7.                   ควรใช้การย่อหน้าให้เป็นประโยชน์ การแยกคำเฉพาะ ( Keywords ) ให้มีความชัดเจน นอกจากนี้ ควรจัดรูปแบบโครงสร้างควบคุมให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้อ่านง่าย 8.                   กลุ่มประโยคคำสั่งต่าง ๆ อาจถูกนำมาจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล และทำการกำหนดชื่อโมดูลขึ้

ความหมายของรหัสเทียม (Pseudocode)

ความหมายของรหัสเทียม ( Pseudocode)               ในวันนี้ผู้เขียนได้รวบรวมนิยามความหมายต่าง ๆ ของรหัสเทียม ไว้ด้วยกันทั้งหมด 4 นิยาม ซึ่งถ้าผู้อ่านได้อ่านแล้วก็จะเห็นได้ว่าความหมายโดยรวมของนิยามทั้งหมดจะมีความคล้ายคลึงกัน   1. )เป็นคำสั่งที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่เป็นคำสั่งที่นำมาใช้เขียนเลียนแบบชุดคำสั่งแบบย่อๆ เพื่อออกแบบโปรแกรม หรือร่างเค้าโครงโปรแกรมที่จะเขียนขึ้นมา ก่อนที่จะนำไปแปลงเขียนเป็นชุดคำสั่งด้วยภาคอมพิวเตอร์จริง ๆ ต่อไป สำหรับคำสั่งย่อ ๆ ที่ใช้ในรหัสเทียม เช่น ในการเขียนโปรแกรมจริง ๆ โดยทั่วไปต้องมีการประกาศชนิดตัวแปรและกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรเสียก่อน แต่ในการเขียนรหัสเทียม สามารถเขียนแบบย่อ ๆ ได้ว่า INITIAL PROGRAM หรือ INITIAL VARIABLE โดยรหัสเทียมจะนำมาเขียนได้ ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนการเขียนโปรแกรม 5 ขั้นตอนก่อน เพื่อที่จะได้โปรแกรมในลักษณะที่ตรงตามต้องการและสมบูรณ์ ครบถ้วน และมีการแสดงออกมาในผังงาน ( Flowchart ) ที่แสดงถึงการทำงานของโปรแกรมและนำไปเขียนเป็นรหัสเทียมได้ 2.) การจำลองการเขียนโปรแกรม โดยเขียนคำสั่งเป็นภาษาอะไรก็

เครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network)

เครือข่ายแบบไคลเอนต์ / เซิร์ฟเวอร์ ( Client/Server Network)                 เครือข่ายประเภทนี้จะมีเครื่องศูนย์บริการ ที่เรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ เชื่อมต่อ โดยเครือข่ายหนึ่งอาจมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์มากกว่าหนึ่งตัวเชื่อมต่อภายในวงแลนเดียวกัน ซึ่งเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวก็ทำหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกัน เช่น                     1. ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ( File Server) คือ เครื่องที่ให้บริการแฟ้มข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย                2. พรินต์เซิร์ฟเวอร์ ( Print Server) คือ เครื่องที่บริการงานพิมพ์ให้แก่เครื่องลูกข่าย โดยบันทึกงานพิมพ์เก็บไว้ในรูปแบบของสพูล ( Spool) และดำเนินการพิมพ์งานตามลำดับคิว                     3. ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ( Database Server ) คือ เครื่องที่บริการฐานข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย                    4. เว็บเซิร์ฟเวอร์ ( Web Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านเว็บเพจขององค์กร เพื่อให้ผู้ท่องอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเว็บขององค์กรได้                 5. เมลเซิร์ฟเวอร์ ( Maill Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านจดหมายอิเล็กท