ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2012

โมเดม (Modem)

โมเดม (Modem)           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ ให้สามารถส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์ เพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ได้ โมเดมจะมีทั้งชนิดเชื่อมต่อภายนอก (External Modem) และชนิดที่เป็นการ์ดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเดม (Modem) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

เกตเวย์ (Gateway)

เกตเวย์ (Gateway)           เกตเวย์เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็นคอมพิวเตอร์พีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น เกตเวย์ (Gateway) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

เร้าท์เตอร์ (Router)

เร้าท์เตอร์ (Router)           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกันคล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเร้าท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

บริดจ์ (Bridge)

บริดจ์ (Bridge)           เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Ethernet กับ Token Ring เป็นต้น บริดจ์ (Bridge)           บริดจ์มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียวเพื่อให้เครือข่ายย่อย ๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ได้ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

รีพีตเตอร์ (Repeater)

รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับขยายสัญญาณเมื่อสายเคเบิ้ลที่เชื่อมต่อเครือข่ายยาวมากขึ้น เพื่อขยายสัญญาณที่ถูกลดทอนลงเนื่องจากระยะทาง อุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฮับ , บริดจ์ , เร้าเตอร์ และเกตเวย์ ต่างก็มีความสามารถของรีพีตเตอร์ด้วยกันทั้งนั้น รีพีตเตอร์ (Repeater) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

สวิตช์ (Switch)

สวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาการต่อ ฮับ อีกทีหนึ่ง มีความสามารถมากกว่า ฮับ โดยการทำงานของสวิตช์จะส่งข้มูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่อง PC ปลายทางเท่านั้น ไม่ส่งกระจายไปยังทุกพอร์ตเหมือนกับฮับ ทำให้ในสวิตช์ไม่มีปัญหาการชนกันของข้อมูล สวิตช์ (Switch) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ฮับ (Hub)

ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบ LAN ที่ต่อแบบ Star ซึ่งฮับในปัจจุบันมีหลายขนาดให้เลือกด้วยกัน โดยพิจารณาตามจำนวนช่องเสียบ (Port) เช่น 5 Port , 16 Port , 24 Port , 32 Port และ 48 Port เป็นต้น มีความเร็วเริ่มต้นที่ 10 Mbps ฮับ (Hub) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)

สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) เป็นสัญญาณที่มีรูปแบบไม่ต่อเนื่อง มีค่าที่เป็นไปได้ในรูปแบบของแรงดันไฟฟ้าที่มีค่า 0 หรือ 1 เท่านั้น มีข้อดีคือ - เป็นสัญญาณที่ทนต่อการรบกวนได้ดีกว่าสัญญาณแอนะล็อก แต่ข้อเสียคือ - สามารถส่งบนระยะทางได้ไม่ไกลเมื่อเทียบกับสัญญาณแอนะล็อก สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal)

สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณที่เป็นรูปคลื่นขึ้นลงสลับกันไปแบบต่อเนื่อง สามารถส่งข้อมูลออกไปได้บนระยะทางที่ไกล แต่มีข้อเสียด้านสัญญาณรบกวนสูง ตัวอย่างสัญญาณแอนะล็อก เช่น สัญญาณที่ส่งไปบนโทรศัพท์ที่สนทนาผ่านระบบโทรศัพท์ตามบ้าน Analog Signal CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

พื้นฐานการสื่อสารในระบบเครือข่าย

พื้นฐานการสื่อสารในระบบเครือข่าย โดยปกติแล้วเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลจะเป็นการส่งข้อมูลที่อาจเป็นข้อมูลตัวอักษร เสียง รูปภาพ ที่จัดเก็บในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอลและนำมาเข้ารหัสให้อยู่ในระบบของสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแสง เพื่อส่งผ่านไปยังสื่อกลางส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ทั้งนี้สัญญาณที่ส่งผ่านสื่อกลางนั้นยังสามารถแบ่งได้เป็นทั้ง สัญญาณแอนะล็อก หรือ สัญญาณดิจิตอล ก็ได้ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.