ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2012

ไอบีเอ็มโทเค็นริง (IBM Token Ring)

ไอบีเอ็มโทเค็นริง (IBM Token Ring) โปรโตคอล CSMA/CD ที่ใช้งานบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต เป็นกลไกการส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโอกาสเกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลสูงเมื่อการจราจรบนเครือข่ายหนาแน่น ในขณะเดียวกันโปรโตคอล Token Passing ที่ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการชนกันของกลุ่มข้มูลเลย กลไกการทำงานของ Token Passing ก็คือ ในช่วงเลาหนึ่งจะมีเพียงโหนดเดียวที่สามารถส่งข้อมูลในขณะนั้นได้ นั่นก็คือโหนดที่ครอบครองโทเค็น โดยโทเค็นจะไปพร้อมกับข้อมูลที่ส่งไปยังโหนดภายในวงแหวน หากโหนดใดได้รับข้อมูลพร้อมรหัสโทเค็นแล้วตรวจสอบพบว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ส่งมายังตน ก็จะส่งทอดไปยังโหนดถัดไปภายในวงแหวนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงโหนดปลายทางที่ต้องการ เมื่อครบรอบวงแล้วรหัสโทเค็นก็จะเข้าสู่สภาวะว่างอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการส่งทอดรหัสว่างไปตามวงแหวนผ่านโหนดต่าง ๆ เป้นวงรอบและพร้อมที่จะให้โหนดอื่น ๆ ครอบครองโทเค็นเพื่อการส่งข้อมูลในรอบต่อไป สำหรับสายเคเบิ้ลที่ใช้งานบนเครือข่ายไอบีเอ็มโทเค็นริง สามารถใช้สายแบบเอสทีพีหรือยูทีพีก็ได้ พร้อมหัวปลั๊กเชื่อมต่ชนิด IBM-Type1 CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ หนังสือแบบเรีย

อีทราเน็ต (Extranet)

อีทราเน็ต (Extranet) เครือข่ายอีเทอร์เน็ตจัดเป็นเครือข่ายท้องถิ่นชนิดแรกที่นำมาใช้ในแวดวงธุรกิจในราวปี ค.ศ.1979 และนับจากนั้นเป็นต้นมา จนมาถึงปัจจุบันอีเทอร์เน็ตก็เป็นเครือข่ายที่มีความนิยมสูงสุด รูปแบบการเชื่อมต่อของเครือข่ายอีเทอร์เน็ตตั้งอยู่บนพื้นฐานเครือข่ายแบบบัสตามมาตรฐาน IEEE 802.3 ด้วยการใช้โปรโตคอล CSMA/CD เป็นตัวจัดการเพื่อการเข้าถึงสื่อกลาง โดยมาตรฐาน 802.3 แบบดั้งเดิมได้กำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อไว้ 3 รูปแบบด้วยกันคือ 10Base5 , 10Base2 และ 10BaseT ที่ส่งข้อมูลบนความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ หนังสือแบบเรียนระบบเครือข่ายเบื้องต้น ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การจำแนกประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 3 ระบบ ดังนี้ 1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งตามขนาดทางกายภาพ ระบบเครือข่ายท้องถิ่น LAN (Local Area Network) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกันภายในองค์กรเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในอาคารเดียวกัน ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักมีการเชื่อมโยงบนระยะทางโดยรวมแล้วไม่เกินกว่า 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่นิยมสูงสุดมีอยู่ 3 ชนิด คือ - อีเทอร์เน็ต (Ethernet) - ไอบีเอ็มโทเค็นริง (IBM Token Ring) - เอฟดีดีไอ (FDDI : Fiber Data Distributed Interface) ระบบเครือข่ายระดับเมือง MAN (Metropolitan Area Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคมพิวเตอร์ในระยะไกล การเชื่มโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่นิยมใช้กับหน่วยงานที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร ระบบเครือข่ายระดับเมืองที่การเชื่อมต่อระยะทางไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่ส

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ         สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้ สามารถแชร์ไฟล์หรืเอกสารได้ เช่น บันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่าง ๆ รูปภาพ วีดีโอ สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชท (chat) การประชุมระยะทางไกล (videoconference) การแชร์ซอร์ฟแวร์ต่าง ๆ เช่น ไมโครซอร์ฟออฟฟิศ โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น สามารถบริหารจัดการ การทำงาน ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security) ใช้งานอินเตอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) ได้ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง ระบบหรือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้ CHUMMY - ONLINE ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE.

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

คำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             คำสั่งต่างๆที่ผู้เขียนได้นำมาบอกต่อในวันนี้เป็นเพียงคำสั่งพื้นฐานในการเขียนรหัสเทียมเท่านั้น   1.                   Read = รับค่า 2.                   Input = รับค่า 3.                   Dim = สร้างตัวแปร 4.                   Create = สร้างตัวแปร 5.                   Process = การประมวลผล 6.                   Begin = คำสั่งเริ่มต้นการทำงาน 7.                   End = คำสั่งจบการทำงาน 8.                   Display = แสดงผลทางหน้าจอ 9.                   Output = แสดงผลไม่ระบุทางออก 10.                 Pint = แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 11.                 Spceker = แสดงผลทางลำโพง       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ อ.เมธัส คำจาด : ผู้รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

ประโยชน์ของการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)             ประโยชน์ต่าง ๆ ของรหัสเทียมมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อในเรื่องของการเขียนรหัสเทียม   1.)                 นำมาใช้ทบทวนความถูกต้อง กับสิ่งที่ได้ออกแบบไป 2.)                 นำมาใช้เพื่อกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปเพิ่มเติมรายละเอียดและใช้เป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรมต่อไป 3.)                 นำมาใช้เป็นเอกสารประกอบโปรแกรม เพื่องานบำรุงรักษาโปรแกรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 4.)                 นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการออกแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคเชิงโครงสร้าง เช่น การออกแบบโมดูลโปรแกรม การออกแบบโปรแกรมแบบบนลงล่าง เป็นต้น       CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ หนังสือแบบเรียนหลักการเขียนโปรแกรม ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความที่เขียนขึ้น CHUMMY – ONLINE .

หลักการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode)

หลักการเขียนรหัสเทียม ( Pseudocode)           หลักการเขียนรหัสเทียมไม่มีกฎหรือมาตรฐานที่ตายตัว ผู้เขียนจึงอยากให้ผู้อ่านได้นำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนรหัสเทียมที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการรวบรวมหลักการต่าง ๆ ที่สำคัญเอาไว้   1.                   กำหนดจุดเริ่มต้นด้วยคำว่า “Begin” และจุดสิ้นสุดด้วยคำว่า “End” 2.                   ถ้อยคำต่าง ๆ ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างง่าย 3.                   การเขียนรหัสเทียมแต่ละคำสั่งควรเขียนเป็นบรรทัด ๆ 4.                   ควรมีการย่อหน้า เพื่อสะดวกต่อการอ่านและการตรวจสอบ 5.                   การเขียนรหัสเทียมจะเขียนจากบนลงล่าง และมีทางเข้าหนึ่งทาง ทางออกหนึ่งทาง 6.                   การเขียนรหัสเทียมจะไม่เขียนหมายเลขกำกับในแต่ละขั้นตอน 7.                   ควรใช้การย่อหน้าให้เป็นประโยชน์ การแยกคำเฉพาะ ( Keywords ) ให้มีความชัดเจน นอกจากนี้ ควรจัดรูปแบบโครงสร้างควบคุมให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้อ่านง่าย 8.                   กลุ่มประโยคคำสั่งต่าง ๆ อาจถูกนำมาจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล และทำการกำหนดชื่อโมดูลขึ้

ความหมายของรหัสเทียม (Pseudocode)

ความหมายของรหัสเทียม ( Pseudocode)               ในวันนี้ผู้เขียนได้รวบรวมนิยามความหมายต่าง ๆ ของรหัสเทียม ไว้ด้วยกันทั้งหมด 4 นิยาม ซึ่งถ้าผู้อ่านได้อ่านแล้วก็จะเห็นได้ว่าความหมายโดยรวมของนิยามทั้งหมดจะมีความคล้ายคลึงกัน   1. )เป็นคำสั่งที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่เป็นคำสั่งที่นำมาใช้เขียนเลียนแบบชุดคำสั่งแบบย่อๆ เพื่อออกแบบโปรแกรม หรือร่างเค้าโครงโปรแกรมที่จะเขียนขึ้นมา ก่อนที่จะนำไปแปลงเขียนเป็นชุดคำสั่งด้วยภาคอมพิวเตอร์จริง ๆ ต่อไป สำหรับคำสั่งย่อ ๆ ที่ใช้ในรหัสเทียม เช่น ในการเขียนโปรแกรมจริง ๆ โดยทั่วไปต้องมีการประกาศชนิดตัวแปรและกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรเสียก่อน แต่ในการเขียนรหัสเทียม สามารถเขียนแบบย่อ ๆ ได้ว่า INITIAL PROGRAM หรือ INITIAL VARIABLE โดยรหัสเทียมจะนำมาเขียนได้ ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนการเขียนโปรแกรม 5 ขั้นตอนก่อน เพื่อที่จะได้โปรแกรมในลักษณะที่ตรงตามต้องการและสมบูรณ์ ครบถ้วน และมีการแสดงออกมาในผังงาน ( Flowchart ) ที่แสดงถึงการทำงานของโปรแกรมและนำไปเขียนเป็นรหัสเทียมได้ 2.) การจำลองการเขียนโปรแกรม โดยเขียนคำสั่งเป็นภาษาอะไรก็

เครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network)

เครือข่ายแบบไคลเอนต์ / เซิร์ฟเวอร์ ( Client/Server Network)                 เครือข่ายประเภทนี้จะมีเครื่องศูนย์บริการ ที่เรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ เชื่อมต่อ โดยเครือข่ายหนึ่งอาจมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์มากกว่าหนึ่งตัวเชื่อมต่อภายในวงแลนเดียวกัน ซึ่งเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวก็ทำหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกัน เช่น                     1. ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ( File Server) คือ เครื่องที่ให้บริการแฟ้มข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย                2. พรินต์เซิร์ฟเวอร์ ( Print Server) คือ เครื่องที่บริการงานพิมพ์ให้แก่เครื่องลูกข่าย โดยบันทึกงานพิมพ์เก็บไว้ในรูปแบบของสพูล ( Spool) และดำเนินการพิมพ์งานตามลำดับคิว                     3. ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ( Database Server ) คือ เครื่องที่บริการฐานข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย                    4. เว็บเซิร์ฟเวอร์ ( Web Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านเว็บเพจขององค์กร เพื่อให้ผู้ท่องอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเว็บขององค์กรได้                 5. เมลเซิร์ฟเวอร์ ( Maill Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านจดหมายอิเล็กท

ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส

ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส                  มีพื้นฐานมาจากระบบปฏิบัติการ CPM นั่นเอง โดยการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานกับไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูล Intel ขนาด 16 บิต เบอร์ 8088 ขึ้นใหม่ที่ยังคงรูปแบบลักษณะคำสั่งคล้ายของกับเดิม เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มขยายในเวลาต่อมาเป็นรุ่น 2.0 จึงได้มีการพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นอีกมาก โดยในรุ่น 2.0 นี้จะมีรูปแบบคำสั่งที่ใกล้เคียงกับคำสั่งในระบบปฏิบัติการ Unix โดยเฉพาะด้านการจัดการข้อมูลใน Harddisk ที่จัดเป็นโครงสร้างต้นไม้ของการแบ่งระบบแฟ้มเป็นระบบย่อย เป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับงานงานเดียว แม้จะมีซอฟต์แวร์มาเสริมช่วยในการใช้งานในลักษณะหน้าต่าง ( window) ทำให้สามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันแต่ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก เพราะไม่ได้มีการออกแบบมาเพื่องานหลายชิ้นโดยเฉพาะ เมื่อขีดความสามารถของ Hardware สูงขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับ Hardware จึงได้รับการพัฒนาเพื่อมาทดแทนเอ็มเอสดอส เช่น ระบบปฏิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ 95 CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ หมวดวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจากบทความ

ประวัติความเป็นมาของ Linux

ประวัติความเป็นมาของ Linux                 ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในประเทศฟินแลนด์ ปีค.ศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส ( Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ( Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ลีนุสเห็นว่าระบบมินิกซ์ ( Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บน PC ในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนาโดย ศ.แอนดรูว์ ทาแนน บาวม์ ( Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมาโดยจุดประสงค์อีกประการ คือ ต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วย เมื่อเขาเริ่มพัฒนาลีนุกซ์ไปช่วงหนึ่งแล้วเขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนาโปรแกรมอื่น ๆ มาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความร่วมมือผ่านทางอินเตอร์เน็ตลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่าง ๆ ได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและแจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง ที่น่าสนใจก็คืองานต่าง ๆ เหล่านี้ผู้คนทั้งหมดต่างก็ทำงานโดยไม่คิดค่าตอบแทนและทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตทั้งหมด   CHUMMY - ONLINE   ขอบคุณ อ.ธนวัฒน์ ถาวรกูล ขออภัยถ้าหากมีความผิดพลาดทางตัวอักษรจ

พื้นฐานระบบปฏิบัติการเครือข่าย ตอนที่ 3

ในที่สุดก็มาถึงตอนสุดท้ายของ พื้นฐานระบบปฏิบัติการเครือข่าย แล้วจ้า.. ในส่วนนี้จะเป็นในเรื่องของตัวอย่างระบบปฏิบัติการเครือข่ายต่าง ๆ มาอ่านกันต่อเลย :)   ตัวอย่างระบบปฏิบัติการเครือข่าย             ตัวอย่างระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ มีดังนี้   1.Microsoft Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งมีอยู่หลายรุ่นด้วยกัน สภาวะการทำงานแบบ 16 บิต วินโดวส์ 1.0 (พ.ศ. 2528 ) และวินโดวส์ 2.0 (พ.ศ. 2530 ) ยังเป็นสภาวะในการทำงาน ( Operating Environments ) หรือติดต่อผู้ใช้อยู่บนอีกชั้นหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (ในที่นี้คือดอส) ต่อมามีวินโดวส์ 3.0 (พ.ศ. 2533 ) และวินโดวส์ 3.1 ( พ.ศ. 2535 ) รวมถึงวินโดวส์ 3.11 ที่เพิ่มความสามารถในการทำงานบนระบบเครือข่าย ( Workgroup ) ระบบปฏิบัติการ 16/32 บิต หลังจากวินโดวส์ 3.11 เพิ่มความสามารถด้านระบบไฟล์แบบ 32 บิต แล้ววินโดวส์ก็มีความสามารถเพียงพอที่จะเป็นระบบปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาดอสอีกต่อไป วินโดวส์ 95 (พ.ศ. 2538 ) เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวแรกโดยรวมเอาดอสเข้ามาเป็